- ภาคการผลิตรถ EV สร้างมลภาวะมากกว่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน เพียงแต่ว่าเมื่อนํารถ EV มาใช้งานตัวยวดยานพาหนะ ไม่ได้ปล่อยไอเสียออกมา
- รถEV น่าจะถูกใช้ในตลาดรวมประมาณ 30 % ไม่เกินนี้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะแทนที่รถน้ำมัน เพราะยังคงมีข้อจํากัดอีกมาก
- อดีตวันนั้นเราชูเรื่องการเป็น ดีทรอยต์แห่งเอเชีย เราสนับสนุนการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาปภายในในประเทศแต่พอวันนี้เมื่อมันเปลี่ยน รัฐบาลก็ควรจะดูแลให้มันผ่านไปด้วยความความราบรื่น
SPOTLIGHT ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ดร. วีรวิน ขอไพบูลย์ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่องานวิจัยด้านบรรษัทภิบาลและการเงินเชิงพฤติกรรม สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์มายาวนาน มองว่า รถEV เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเท่านั้น และเชื่อว่าในอนาคตยอดขายรถทั้งโลก จะถูกแบ่งสัดส่วนโดยที่รถอีวีจะไม่สามารถแทนที่รถน้ำมันได้ทั้งหมด และคาดว่า รถEV จะกินสัดส่วนราว30% ของยอดขายรถทั่วโลก
เริ่มต้นพูดคุยกับคุณหนุ่ม คงต้องถามว่ารถอีวีจากจีนสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ในภาพรวมอย่างไรบ้าง?
เรามองเป็น 2 ภาพ ภาพใหญ่คือผลกระทบในระดับของโลก และภารองลงมาเป็นระดับในประเทศของเรา ในระดับของโลกนั้นจากการศึกษาของต่างประเทศพบว่า นะการมาของอีวีจีนมีผลกระทบต่อห่วงโซ่มูลค่าโลก หรือ Global Value Chain ซึ่งตัวห่วงโซ่มูลค่าโลกเป็นตัวที่ใช้วัดผลกระทบต่างๆที่เรียกว่า ต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ําดังนั้นเรื่องหลักหลักที่ถูกกระทบทั้งโลก คือ ผลกระทบที่บริษัท และ การจ้างงานเนื่องจากว่าการผลิต EV ถูกออกแบบมาให้ผลิตเรียบง่ายกว่าเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป ดังนั้นการใช้ซัพพลายเออร์จึงใช้น้อยลง ชิ้นส่วนประกอบในรถก็น้อยลง ดังนั้นเมื่อเมื่อภาระงานในการทํางานของการประกอบรถยนต์อีวีเบากว่าแน่นอนว่าการจ้างงานก็จะลดลงตามไปด้วยนะครับ
ดังนั้นในระดับโลกที่จะเจอคือการปิดตัวลงของซัพพลายเออร์หรือว่าโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ระบบตัวถัง ระบบไอเสีย เพราะพอเทคโนโลยีเปลี่ยนทักษะของของคนงานก็เปลี่ยนตาม
ภาพระดับประเทศไทย ได้ผลกระทบในลักษณะคล้ายกับโลก เพียงแต่ว่าถ้าประเทศไหนที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะปกป้อง อุตสาหกรรมในประเทศ อย่างสหรัฐฯมีความชัดเจนว่า เค้าออกภาษีมาแบบค่อนข้างจะ Agressive มาก ก็อาจจะทําให้ ซัพพลายเออร์กลุ่มนี้มีเวลาในการปรับตัว
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถEV คืออนาคคจริงหรือเปล่า? จะแทนที่รถน้ำมันได้หมดจริงมั้ย? หรือตอนนี้มีพลังงานทางเลือกอะไรที่มีศักยภาพซุ่มพัฒนาอีกบ้าง ?
ในมุมของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EV เป็นแค่เส้นทางหนึ่งที่จะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะมันมีวิธีอื่นๆอีกเยอะเลยที่ทําได้ แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ EV เป็นหนึ่งช่องทางให้เลือก
ยกตัวอย่างง่ายๆ การผลิตรถEV ยังต้องมีการทําเหมืองแร่ การใช้เหล็กก็ยังต้องทําเหมือนกันดังนั้นในด้านวิชาการเฉพาะในภาคการผลิตรถ EV สร้างมลภาวะมากกว่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน เพียงแต่ว่าเมื่อนํารถ EV มาใช้งานตัวยวดยานพาหนะ ไม่ได้ปล่อยไอเสียออกมา มันจึงมีข้อได้เปรียบตรงนี้ ดังนั้นอีวีเป็นบทสุดท้ายมั้ย ผมคิดว่า รถEV น่าจะถูกใช้ในตลาดรวมประมาณ 25 % ไม่เกินนี้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะแทนที่รถน้ำมัน เพราะยังคงมีข้อจํากัดอีกมาก เช่น การใช้รถในขนส่งของหนักในภาคอุตสาหกรรมระยะทางยังเป็นเป็นปัญหามาก ผู้บริโภคจํานวนไม่น้อยที่อาจจะอยากใช้แต่ใช้ไม่ได้เพราะว่าเค้าอาจต้องวิ่งรถไกล รวมถึงระบบพื้นฐานที่จะรองรับ เช่นกําลังไฟ อย่างต่างจังหวัดยังไฟตกอาจจะวันละสองครั้ง หรือบางหมู่บ้านไฟฟ้ายังแทบจะเข้าไม่ถึงด้วยซ้ำ เป็นต้น
แล้วคุณหนุ่มวิเคราะห์อย่างไรรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนกําลังจะยึดตลาดโลกได้จริงหรือไม่คะ? เพราะรถ EV จีนราคาถูกกว่าใครจนกลายเป็นสงครามราคาเกิดขึ้น
ต้องบอกว่า การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีนนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงประมาณปี 2000 สมัยนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีนยังรับจ้างผลิตให้กับผู้ผลิตรายใหญ่ต่างประเทศอยู่ ต่อมารัฐบาลจีนมองว่า เค้าผลิตเยอะขนาดนี้แต่กลับไม่มีแบรนด์ของตัวเอง เค้าไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เค้าไม่สามารถที่จะออกไปบุกตลาดข้างนอกได้ นี่จึงทำให้รัฐบาลจีนตัดสินใจ ว่าต้องไปผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานอื่นซึ่งเค้าก็ตัดสินใจลงทุนพัฒนารถไฟฟ้า ดังนั้นจีนได้ผ่านความเสี่ยงมาจนประสบความสําเร็จ ณ วันนี้ ซึ่งนับเป็นเวลาร่วม 20 กว่าปีมาแล้ว จีนมาถึงจุดที่พร้อมโดยเฉพาะในภาคกรผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปไกลกว่าคนอื่นมาก คุณภาพจึงไม่น่าจะใช่ปัญหาสําหรับจีน ส่วนประเทศอื่น ณ วันนั้นไม่ได้อยู่ในจุดที่เรียกว่าจําเป็นต้องไปเสี่ยงเพราะ ถือว่าผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปอยู่แล้ว แต่พอไม่ได้ทำ วันนี้เลยตามไม่ทันต้องบอกว่าอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครับ
หลายคนสงสัยว่า แล้วทําไมรถอีวีจากจีนเนี่ยถึงมีราคาที่ถูกกว่าอีวีจากค่ายอื่นคะ?
รถอีวีประมาณ 80% ของต้นทุนการผลิตมาจากวัตถุดิบผมใช้คําว่าวัตถุดิบทางโลหะ เช่น เหล็กตัวบอดี้ ตัวแบตเตอรี่ ตัวมอเตอร์ พวกเนี้ยใช้วัตถุดิบทางโลหะทั้งนั้นเลยโดยแบตเตอรี่ 70% จีนเป็นเจ้าของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมดในโลก ขณะที่อันดับสองรองลงมาคือสหรัฐฯ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 6% มันแตกต่างกันมากซึ่งความแตกต่างตรงนี้ ทำให้จีนคุมตลาด
โดยกําลังการผลิตตัวแบตเตอรี่ปีที่แล้วจีนใช้กำลังการผลิตอยู่แค่ประมาณ 40% ของความสามารถในการผลิต พอเหลือก็ส่งออกมันจึงเป็นเรื่องดีมานด์ ซัพพลาย เมื่อซัพพลายล้นราคาก็ลดลง และด้วยความที่จีนผลิตมานาน Economy of Scale ก็เป็นข้อได้เปรียบด้วย
ผลกระทบในประเทศไทยกันบ้าง มีกรณีค่ายรถญี่ปุ่นที่มีโรงงานผลิตในไทย ทั้งซูบารุและ ซูซูกิ ปิดโรงงานการผลิตในไทย เปลี่ยนเป็นการนำเข้ารถมาแทน และบ้านเรายังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญอีกด้วย ผลกระทบมันเป็นยังไงคะคุณหนุ่ม?
การมาของรถยนต์ไฟฟ้าจีน บังเอิญว่าได้สิทธิพิเศษทางภาษี FTA ภาษี 0% ขณะที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนรถอีวีอยู่แล้วพอได้ภาษี 0% อีกทำให้รถจีนสามารถทําราคาได้ถูก พอทําราคาได้ถูกแน่นอนว่าผู้บริโภคก็จะหันให้ไปลองใช้ ลองซื้อ จังหวะเดียวกัน บ้านเราช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจเราไม่ดี หนี้หนี้ครัวเรือนก็สูงการปล่อยกู้ก็ทําได้ยากขึ้นดังนั้น ถ้าสังเกตจริๆรถอีวีที่ขายดีจะเป็นรถขนาดเล็กราคาประมาณสัก 500,000 กว่าบาท
ส่วนทางค่ายรถญี่ปุ่นเอง เดิมที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับรถอีโคคาร์ ซึ่งสิทธิประโยชน์กำลังจะหมดลงราวปี 68 ซึ่งพอหมดตรงนั้นแล้วและรัฐบาลไม่ได้ต่อจะทำให้ค่ายรถญี่ปุ่นสุดท้ายจะหยุดผลิตตัวอีโคคาร์กลุ่มนี้ไป คาดว่าอีกประมาณ ปีหรือสองปีนี้
แต่อย่างไรก็ตามประจวบเหมาะว่าการนําเข้าจากจีนไม่เสียภาษี ดังนั้นจริงๆแล้วทุกยี่ห้อทุกที่มีโรงงานในจีนถ้านําเข้าจากจีนไม่เสียภาษี รวมถึงค่ายญี่ปุ่นด้วยซึ่งทั้งหมดก็อยู่ที่นโยบายว่าทางถ้าบริษัทนั้นมีมีโรงงานในจีน เค้าสามารถที่จะไปบริหารจัดการตัวสินค้าให้นําเข้ามาจากจีนได้ก็จะได้สิทธิที่แข่งขันได้อันนี้ต้องอยู่ที่นโยบายของแต่ละบริษัท
คุณหนุ่มคิดว่าในฟากของรัฐบาลไทยควรจะมีนโยบายอะไรออกมาเพิ่มเติมเพื่อที่จะดูแลผู้ประกอบการภายในประเทศด้วยหรือไม่?
จริงๆควรจะมีนะครับ แต่รัฐบาลชุดนี้มาได้ไม่นาน ถ้าดูจากจากผลกระทบภาษีภาษีรถยนต์ของของรอบปีนี้ ภาษีรถยนต์จะเก็บได้ต่ำกว่าปีที่แล้วประมาณ 40-50% ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลเองก็ประสบปัญหาเดียวกัน คือรายได้หาย เพราะว่ารถไฟฟ้าเข้ามา ดังนั้นควรจะสนับสนุนควรจะดูแลผู้ประกอบการรถยนต์สันดาปมั้ย ก็ควรจะดูแล
ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ของทางญี่ปุ่นเอง ได้มีการเข้าไปพูดคุยกับทางรัฐบาลมากกว่าสองครั้ง แต่ยังไม่ได้เห็นว่ามีอะไร แต่คิดว่า สุดท้ายแล้วคือควรจะต้องมีเพราะอดีตวันนั้นเราชูเรื่องการเป็น ดีทรอยต์แห่งเอเชีย เราสนับสนุนการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาปภายในในประเทศแต่พอวันนี้เมื่อมันเปลี่ยนก็ควรจะดูแลให้มันผ่านไปด้วยความความราบรื่น เพราะสุดท้ายผู้ว่าเจ็บล้มตายต้องปิดธุรกิจ คนที่ได้รับผลกระทบก็คือประชาชนชาวไทย